การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางสู่ความยั่งยืนและการเป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งเดียวอาเซียน” เป็นการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแหล่งท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง และเพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางสู่ความยั่งยืนและการเป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งเดียวอาเชียน ทำการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง 4 จังหวัด คือจังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคามและร้อยเอ็ด
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีเครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสนทนากลุ่ม และแบบประชุมเชิงปฏิบัติการ มีการเก็บรวบรวมข้อมูล เอกสาร และภาคสนามจากการสำรวจ สัมภาษณ์
การวิจัยครั้งนี้ศึกษาแหล่งท่องเที่ยว 3 ประเภทคือ แหล่งท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดได้แหล่งท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาดังนี้
การศึกษาวิจัยเรื่อง ศักยภาพและสถานภาพด้านสิ่งแวดล้อมของธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาศักยภาพและความพร้อมของธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยระบุสถานะและจัดกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวตามเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม และรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนเพื่อเพิ่มศักยภาพ และเตรียมความพร้อมในการรองรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว ของธุรกิจการท่องเที่ยวตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ทำการศึกษาธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 5 ประเภท คือ ธุรกิจโรงแรมและที่พักอาศัย ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร ธุรกิจการจำหน่ายของฝากและของที่ระลึก ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และธุรกิจบริการคมนาคม รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อนำมาวิเคราะห์โดยใช้โปรมแกรมทางด้านสถิติ (SPSS) ผลการศึกษาพบว่า
การศึกษาการสร้างแบรนด์จังหวัดเพื่อการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ ที่บูรณาการองค์ความรู้ สาขาปรัชญาสาขาสังคมวิทยาและสาขาเศรษฐศาสตร์ เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ตลาดปัจจุบันของการท่องเที่ยว เพื่อวิเคราะห์การสร้างแบรนด์จังหวัดเพื่อการท่องเที่ยว และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาแบรนด์จังหวัดเพื่อการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีระเบียบวิธีวิจัยในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยศึกษาทบทวนวรรณกรรม เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควบคู่กับการศึกษาภาคสนาม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การตลาดการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนโดยการแจกแบบสอบถามด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา จำนวน 382 ชุดแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด 96 คน กลุ่มจังหวัดขอนแก่น 136 คน กลุ่มจังหวัดมหาสารคาม 75 คน และกลุ่มจังหวัดกาฬสินธุ์ 75 คนจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประมวลผลการประเมินการศึกษา ซึ่งจากการศึกษา พบว่า
หนังสือ เพลง หนังสั้น สื่อการเรียนการสอน เเละต่างๆอีกมากมาย